บรรหาร ศิลปอาชา (19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – 23 เมษายน พ.ศ. 2559) เป็นนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 21 ประธานกรรมการมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 11 สมัย อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อดีตนายกสภาสถาบันการพลศึกษา อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท สหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ทั้งเป็นพี่ชายของชุมพล ศิลปอาชา อดีตรองนายกรัฐมนตรี
บรรหารเป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เดิมมีชื่อว่า เต็กเซียง แซ่เบ๊ (???) บิดาของบรรหาร คือ เซ่งกิม แซ่เบ๊ ส่วนมารดาของบรรหาร คือ สายเอ็ง แซ่เบ๊ เป็นเจ้าของร้านสิ่งทอชื่อ ย่งหยูฮง ทั้งคู่มีบุตร 6 คน ดังนี้ตามลำดับ สมบูรณ์ ศิลปอาชา, สายใจ ศิลปอาชา, อุดม ศิลปอาชา, บรรหาร ศิลปอาชา, ดรุณี วายากุล, และชุมพล ศิลปอาชา
บรรหารจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนหนังสือชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัย แต่ต้องหยุดเรียนไป เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง หันไปทำงานกับพี่ชาย และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเองชื่อ บริษัท สหศรีชัยก่อสร้าง เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2505 ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด นทีทอง และ พ.ศ. 2508 ก่อตั้งบริษัทวารทิพย์ จำกัด
ต่อมาก่อตั้งบริษัท บี.เอส.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ขายเคมีภัณฑ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ใน พ.ศ. 2523 ครอบครัวบรรหารได้ก่อตั้งบริษัท สหศรีชัยเคมิคอลส์ จำกัด เพื่อขายเคมีภัณฑ์ ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท คอสติกไทย จำกัด บริษัททั้งหมดเป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีนให้แก่กรมโยธาธิการและการประปาส่วนภูมิภาคจนมีฐานะดีขึ้น
ก่อนบรรหารจะทำงานการเมือง เขาตีสนิทข้าราชการด้วยการซื้อเครื่องดื่มไปฝาก จนเป็นที่รู้จักของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ อาทิ ดำรง ชลวิจารณ์ อดีตอธิบดีกรมโยธาธิการ และผู้ว่าการประปานครหลวงคนแรกของประเทศไทย
เขาอาศัยความสนิทกับข้าราชการกรมโยธาธิการ และการประปานครหลวง ชนะประมูลงานหลายครั้ง เนื่องจาก ดำรง ชลวิจารณ์ เป็นอธิบดีกรมโยธาธิการถึง 9 ปี และเป็นผู้ว่าการประปานครหลวงคนแรกของประเทศไทยโดยดำรงตำแหน่งระหว่าง วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2512
ต่อมาเมื่อเป็นนักการเมืองแล้ว ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมระหว่าง วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2519 ถึงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2519 และระหว่าง วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จึงเริ่มเรียนหนังสือต่อจนจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2529 และศึกษาต่อปริญญาโทนิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน
สำนักข่าวอิศรารายงานว่า เขาเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่มีฐานะร่ำรวยรองจากทักษิณ ชินวัตร หากเปรียบเทียบกับนายกรัฐมนตรี 10 คน คือ ชวน หลีกภัย, พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ, พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์, สมัคร สุนทรเวช, สมชาย วงศ์สวัสดิ์, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ทักษิณ ชินวัตร, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เขายังเป็นอาของนคร ศิลปอาชา ซึ่งได้ตำแหน่งปลัดกระทรวงแรงงานภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2558
ใน พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้มอบปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่บรรหารอีกด้วย ระหว่างที่บรรหารเรียนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงอยู่นั้น บรรหารเคยเรียนกับนายวิษณุ เครืองามด้วย
บรรหารเข้าสู่วงการเมืองจากการชักชวนของบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ตั้งแต่มีการก่อตั้งพรรคชาติไทยเมื่อ พ.ศ. 2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติใน พ.ศ. 2516 และเป็นสมาชิกวุฒิสภา ใน พ.ศ. 2518 ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. 2519 และ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาทุกสมัยที่มีการเลือกตั้ง ต่อมาบรรหารขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคชาติไทยใน พ.ศ. 2523 และในปีเดียวกันนั้น เขาถูกพินิจ จันทรสุรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง และคณะรวม 42 คน ยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยว่า เขาขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีบิดาเป็นคนต่างด้าว และสำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติให้ยกคำร้องดังกล่าว
ต่อมาใน พ.ศ. 2537 บรรหารได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย
ตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บรรหารได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในหลายกระทรวง ใน พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีสมัยแรก คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งเดิม อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ก่อรัฐประหาร
ก่อนเกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ บรรหาร ศิลปอาชา เลขาธิการพรรคชาติไทย เป็นตัวแทนพรรคชาติไทย ในฐานะ พรรคร่วมรัฐบาลให้สัญญาว่าจะแถลงถึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อมาบรรหาร และตัวแทนพรรคร่วมรัฐบาล ออกโทรทัศน์ ปฏิเสธ เรื่องดังกล่าว ทำให้เกิดการชุมนุมเพื่อต่อต้านรัฐบาลและนำไปสู่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในที่สุด
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 บรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทำให้บรรหาร ได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกตำแหน่งหนึ่งระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
รัฐบาลบรรหาร มีผลงานที่โดดเด่นคือ การริเริ่มให้มีร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[ต้องการอ้างอิง]
การบริหารราชการแผ่นดินในดำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเขา ดำเนินไปด้วยความไม่ราบรื่น จนกระทั่งในวันที่ 18-20 กันยายน พ.ศ. 2539 เขาถูกพรรคฝ่ายค้าน นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายไม่ไว้วางใจโจมตีว่าการบริหารประเทศไร้ประสิทธิภาพ ไม่เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ ประกอบกับพรรคร่วมรัฐบาลได้แก่ พรรคความหวังใหม่ พรรคนำไทย และพรรคมวลชน ได้ขอให้เขาลาออกจากตำแหน่ง แต่เขาได้ตัดสินใจยุบสภา เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 แทน
บรรหารมีสมญานามมากมาย จากลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีฐานเสียงหนาแน่นอย่างที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานะเป็นเจ้าถิ่นจนได้สมญาว่า "มังกรสุพรรณ" หรือ "มังกรการเมือง" และเนื่องจากมีลักษณะคล้าย เติ้งเสี่ยวผิง อดีตผู้นำจีน สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกบรรหารสั้น ๆ ว่า "เติ้ง" หรือ "เติ้งเสี่ยวหาร" และ"ปลาไหล" เนื่องจากเป็นคนกลับกลอกไปมาไม่แน่นอน
ในการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2548 พรรคชาติไทยซึ่งใช้คำหาเสียงว่า "สัจจะนิยม สร้างสังคมให้สมดุล" บรรหารในฐานะหัวหน้าพรรคได้ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า จะไม่ขอร่วมรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร อีก ถ้าพรรคไทยรักไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 พรรคชาติไทยได้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน และร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549
ก่อนการเลือกตั้งในปลาย พ.ศ. 2550 ไม่นาน ผู้สื่อข่าวถามว่า จะไปร่วมกับพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจเก่าจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ บรรหารตอบว่า "จะไม่ทำให้ผู้ใหญ่ที่นับถือมา 30 ปี ผิดหวัง" ซึ่งบรรหารไม่ได้บอกว่าเป็นใคร แต่สาธารณชนก็ตีความว่า หมายถึง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ หลังการเลือกตั้งปรากฏว่า บรรหารและพรรคชาติไทยก็ไปเข้าร่วมกับพรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ รองหัวหน้าพรรค ได้ออกมาโจมตีและแฉพฤติกรรมบรรหารเป็นการใหญ่
บรรหารรวมทั้งวราวุธและกัญจนาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลาทั้งหมด 5 ปี เนื่องจากการยุบพรรคชาติไทย ซึ่งขณะนั้นบรรหารดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มีผู้พบระเบิดที่ที่ทำการพรรคชาติไทยเพื่อเป็นการข่มขู่ที่มีข่าวว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคชาติไทยพัฒนาจะสนับสนุนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551ต่อมาในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พรรคชาติไทยพัฒนา ร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยชุมพล ศิลปอาชาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาและ ธีระ วงศ์สมุทรเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ใน พ.ศ. 2554 พรรคชาติไทยพัฒนา ร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเนื่องจากทั้งสองพรรคมีความเป็นศัตรูกันอย่างชัดเจนโดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่างประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อใช้กับนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามส่งผลให้เกิดคดี นักการเมืองจากทั้งสองพรรค ถูกศาลออกหมายจับ ในข้อหาทำผิดกฎหมายดังกล่าวจำนวนมาก ในขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนาได้ผลประโยชน์จากการร่วมงานกับทั้งสองพรรคกล่าวคือ ชุมพล ศิลปอาชาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาและธีระ วงศ์สมุทรเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ใน พ.ศ. 2556 เขาอาสาทำงานเป็น ผู้ประสานงานคณะทำงานเวทีปฏิรูปประเทศ ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ให้แก่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยเข้าพบ สนธิ ลิ้มทองกุล และ จำลอง ศรีเมือง ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556 เขายืนยันว่าพรรคชาติไทย ไม่ได้ทำผิดและไม่สมควรถูกยุบพรรค
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 1
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรียกเขารายงานตัวตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 23/2557 เขาไปรายงานตัวในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559 บรรหารเกิดภาวะภูมิแพ้และหอบหืดกำเริบ จึงนำส่งโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ อาการวิกฤติตั้งแต่วันแรกที่เข้ารักษา จนถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะดังกล่าวเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 04:42 นาฬิกา
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานในพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พร้อมร่วมฟังสวดพระอภิธรรม พระบรมวงศานุวงศ์พระกรุณาโปรดเกล้าฯ วางพวงมาลาพระราชทาน อดีตนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีส่งพวงหรีดไว้อาลัย อาทิ พลเอก สุจินดา คราประยูร, พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ,ทักษิณ ชินวัตร, ชวน หลีกภัย, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, สมชาย วงศ์สวัสดิ์, อานันท์ ปันยารชุน, และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตลอดจนมูลนิธิรัฐบุรุษพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีลาว
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานโกศไม้ 8 เหลี่ยม พร้อมฉัตรเบญจา (ฉัตร 5 ชั้น) 4 ต้น ปี่กลองชนะประโคมเวลา ทรงรับงานศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเป็นเวลา 7 คืน ระหว่างวันที่ 23 – 29 เมษายน พร้อมทรงรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ในโอกาสครบ 50 วัน และ 100 วัน ส่วนหน่วยงานรัฐ เอกชน และองค์กรต่าง ๆ ร่วมเป็นเจ้าภาพในการสวดพระอภิธรรม มีกำหนด 7 คืน ตั้งแต่ 30 เมษายน – 6 พฤษภาคม
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • ผัน นาวาวิจิต • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • สงวน จูทะเตมีย์ • ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ • หม่อมสนิทวงศ์เสนี • สุกิจ นิมมานเหมินท์ • บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • ประมาณ อดิเรกสาร • หลวงสวัสดิ์กลยุทธ (สวัสดิ์ ไกรฤกษ์) • กฤช ปุณณกันต์ • บุณย์ เจริญไทย • พงษ์ ปุณณกันต์ • กฤษณ์ สีวะรา • โอสถ โกศิน • อรุณ สรเทศน์ • นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ • สุรินทร์ เทพกาญจนา • ชาติชาย ชุณหะวัณ • เพิ่ม ลิมปสวัสดิ์ • เกษม จาติกวณิช • ประสิทธิ์ ณรงค์เดช • ประสงค์ คุณะดิลก • ชาติชาย ชุณหะวัณ • อบ วสุรัตน์ • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • ประมวล สภาวสุ • บรรหาร ศิลปอาชา • ประมวล สภาวสุ • สิปปนนท์ เกตุทัต • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • สนั่น ขจรประศาสน์ • ไตรรงค์ สุวรรณคีรี • ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ • โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ • กร ทัพพะรังสี • สมศักดิ์ เทพสุทิน • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • พินิจ จารุสมบัติ • พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล • วัฒนา เมืองสุข • สุวิทย์ คุณกิตติ • มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ • ประชา พรหมนอก • ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง • ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ • วรรณรัตน์ ชาญนุกูล • หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ • ประเสริฐ บุญชัยสุข • จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช • อรรชกา สีบุญเรือง
(รัฐมนตรีช่วย) หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • ชม จารุรัตน์ • หลวงประสิทธิ์จักรการ (พ้วน โหตรภวานนท์) • หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) • เสมอ กัณฑาธัญ • เลื่อน พงษ์โสภณ • ประมาณ อดิเรกสาร • ชื่น ระวิวรรณ • สงวน จันทรสาขา • สะอาด หงษ์ยนต์ • ประกายเพชร อินทุโสภณ • แสวง พิบูลย์สราวุธ • วัฒนา อัศวเหม • แผน สิริเวชชะพันธ์ • บรรหาร ศิลปอาชา • บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ • วิมล วิริยะวิทย์ • อาชว์ เตาลานนท์ • โกศล ไกรฤกษ์ • ไกรสร ตันติพงศ์ • วิสิษฐ์ ตันสัจจา • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ • บรม ตันเถียร • วงศ์ พลนิกร • ประโยชน์ เนื่องจำนงค์ • อนันต์ ฉายแสง • มีชัย วีระไวทยะ • ประมวล สภาวสุ • สมบูรณ์ จีระมะกร • กร ทัพพะรังสี • ดุสิต รังคสิริ • ไพฑูรย์ แก้วทอง • สมาน ภุมมะกาญจนะ • สมภพ อมาตยกุล • ประยูร สุรนิวงศ์ • วีระ สุสังกรกาญจน์ • เรืองวิทย์ ลิกค์ • อุดมศักดิ์ ทั่งทอง • พรเทพ เตชะไพบูลย์ • เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ • ประเทือง คำประกอบ • สนธยา คุณปลื้ม • อนุสรณ์ วงศ์วรรณ • ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ • พลกฤษณ์ หงษ์ทอง • อนุรักษ์ จุรีมาศ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย • พิเชษฐ สถิรชวาล • ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ • ฐานิสร์ เทียนทอง
ควง อภัยวงศ์ • หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ • ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ • พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนะวณิชย์) • มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • พระยาศรีพิชัยสงคราม (เจริญ จันฉาย) • พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) • ปฐม โพธิ์แก้ว • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี • บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • พงษ์ ปุณณกันต์ • ทวี จุลละทรัพย์ • ชลี สินธุโสภณ • เชาวน์ ณศีลวันต์ • สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ • ศิริ สิริโยธิน • ทวิช กลิ่นประทุม • เลอศักดิ์ สมบัติศิริ • สุรกิจ มัยลาภ • สมพร บุณยคุปต์ • อมร ศิริกายะ • สมัคร สุนทรเวช • บรรหาร ศิลปอาชา • มนตรี พงษ์พานิช • นุกูล ประจวบเหมาะ • วินัย สมพงษ์ • วิชิต สุรพงษ์ชัย • วันมูหะมัดนอร์ มะทา • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุเทพ เทือกสุบรรณ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล • ธีระ ห้าวเจริญ • สันติ พร้อมพัฒน์ • โสภณ ซารัมย์ • สุกำพล สุวรรณทัต • จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • ประจิน จั่นตอง • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(รัฐมนตรีช่วย) วิลาศ โอสถานนท์ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • ชม จารุรัตน์ • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ปฐม โพธิ์แก้ว • ประเสริฐ สุดบรรทัด • หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) • ประมาณ อดิเรกสาร • ไสว ไสวแสนยากร • เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร • พงษ์ ปุณณกันต์ • จรูญ เฉลิมเตียรณ • เนตร เขมะโยธิน • ชลี สินธุโสภณ • อุทัย วุฒิกุล • ประจวบ สุนทรางกูร • ศรีภูมิ ศุขเนตร • อุทัย พิมพ์ใจชน • สมศาสตร์ รัตนสัค • บุญยง วัฒนพงศ์ • อนันต์ ภักดิ์ประไพ • ประทวน รมยานนท์ • บุญเกิด หิรัญคำ • ประชุม รัตนเพียร • สนอง นิสาลักษณ์ • ประสงค์ สุขุม • ประสิทธิ์ ณรงค์เดช • ประสงค์ คุณะดิลก • อมร ศิริกายะ • เทพ กรานเลิศ • พล เริงประเสริฐวิทย์ • ทินกร พันธุ์กระวี • ยศ อินทรโกมาลย์สุต • ชาญ มนูธรรม • ชุมพล ศิลปอาชา • วีระ มุสิกพงศ์ • มนตรี พงษ์พานิช • บุญเทียม เขมาภิรัตน์ • สนั่น ขจรประศาสน์ • สุรพันธ์ ชินวัตร • นิคม แสนเจริญ • เอนก ทับสุวรรณ • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • เจริญ เชาวน์ประยูร • หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู • วิโรจน์ แสงสนิท • สุเทพ เทพรักษ์ • เสนาะ เทียนทอง • กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ • จรัส พั้วช่วย • ไสว พัฒโน • ทวี ไกรคุปต์ • สมศักดิ์ เทพสุทิน • พินิจ จารุสมบัติ • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • เดช บุญ-หลง • สมบัติ อุทัยสาง • พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ • ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ • พิมพา จันทร์ประสงค์ • ดิเรก เจริญผล • อร่าม โล่ห์วีระ • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ • สนธยา คุณปลื้ม • เผดิมชัย สะสมทรัพย์ • โชคสมาน สีลาวงษ์ • อิทธิ ศิริลัทธยากร • ไชยา สะสมทรัพย์ • จองชัย เที่ยงธรรม • ประชา มาลีนนท์ • พงศกร เลาหวิเชียร • นิกร จำนง • พิเชษฐ สถิรชวาล • วิเชษฐ์ เกษมทองศรี • อดิศร เพียงเกษ • ภูมิธรรม เวชยชัย • ชัยนันท์ เจริญศิริ • สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม • ทรงศักดิ์ ทองศรี • อนุรักษ์ จุรีมาศ • โสภณ ซารัมย์ • วราวุธ ศิลปอาชา • ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ • เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร • สุชาติ โชคชัยวัฒนากร • ชัจจ์ กุลดิลก • กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • พฤณท์ สุวรรณทัต • ประเสริฐ จันทรรวงทอง • พ้อง ชีวานันท์ • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ • ออมสิน ชีวะพฤกษ์